เงินบาทอ่อนค่า สุดในรอบ 4 เดือนครึ่งก่อนฟื้นตัวกลับบางส่วน ขณะที่หุ้นไทยดีดตัวขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ จับตาสัปดาห์หน้า รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนก.พ.ของแบงก์ชาติ สถานการณ์โควิด และประเด็นของเรื่องวัคซีนทั่วโลก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทอ่อนค่า ลงสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค แต่สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ได้รับแรงหนุนจากถ้อยแถลงที่สะท้อนความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของประธานเฟดและรมว.คลังสหรัฐฯ และจากข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด
นอกจากนี้เงินบาทยังถูกกดดันเพิ่มเติมจากตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนก.พ. ที่อ่อนแอ อย่างไรก็ดีกรอบการอ่อนค่าของเงินบาทชะลอลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ท่ามกลางบรรยากาศการฟื้นตัวขึ้นของตลาดหุ้นและสกุลเงินเอเชียในภาพรวม
ในวันศุกร์ (26 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.08 หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือนครึ่งที่ 31.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 30.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 มี.ค.)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (29 มี.ค.-2 เม.ย.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 30.90-31.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนก.พ.ของธปท. สถานการณ์โควิด 19 และประเด็นของเรื่องวัคซีนทั่วโลก รวมถึงทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร การจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิตเดือนมี.ค. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนก.พ. ดัชนีราคาบ้านเดือนม.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนมี.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกันด้วยเช่นกันhttps://0d2087894381f7043edc2573ca84a938.safeframe.googlesyndication.com/safeframe/1-0-38/html/container.html
ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,574.86 จุด เพิ่มขึ้น 0.70% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 84,759.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.18% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 5.08% มาปิดที่ 449.95 จุด
หุ้นไทยแกว่งตัวกรอบแคบช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากไร้ปัจจัยหนุนใหม่ ประกอบกับมีความกังวลต่อสถานการณ์โควิด 19 ในต่างประเทศ และสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างจีนและชาติตะวันตก ก่อนจะปรับตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
นอกจากนี้หุ้นไทยยังปรับตัวขึ้นต่อในช่วงปลายสัปดาห์ตามหุ้นต่างประเทศ หลังข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมหลังศบศ. เห็นชอบแนวทางเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (29 มี.ค.- 2 เม.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,565 และ 1,550 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,585 และ 1,600 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลก รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิด 19 สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างจีนและชาติตะวันตก ตลอดจนปัจจัยการเมืองในประเทศ
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิต ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนมี.ค. ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมี.ค. ของยูโรโซนและญี่ปุ่น ยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. ของญี่ปุ่น
Recent Comments