สำหรับ ภาวะเงินฝืด นั้นเป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด ผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว ตามนิยามของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อ คือ

นิยามของธนาคารกลางยุโรป สำหรับ ภาวะเงินฝืด

1. อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period)

2. อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลาย ๆ หมวดสินค้าและบริการ

3. การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย

4. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

ภาวะเงินฝืด คืออะไร

ผลของภาวะเงินฝืด

หากเกิดภาวะ เงินฝืด จะทำให้ประชาชนมีความสามารถที่จะใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้ลดลงจนรวมไปถึงหยุดซื้อ จนทำให้ปริมาณสินค้าและบริการที่มีอยู่เมื่อสินค้าที่ผลิตได้ขายไม่ออก เหล่าโรงงานและเหล่าผู้ผลิตจะต้องลดราคาสินค้าและบริการจนขาดทุนหรือได้รับกำไรน้อยลงทุนแล้วไม่คุ้ม จนทำให้ผู้ผลิตบางส่วนอาจเลิกการผลิตหรือลดปริมาณการผลิตลง จคนตกงานเป็นจำนวนมาก รวมเกิดเป็นปัญหาลูกโซ่เพราะกลุ่มคนที่ว่างงานเหล่านี้จะไม่มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอยตามปกติ ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่ออก นอกจากการจ้างงานจะลดต่ำลงลง รายได้ของคนส่วนรวมจะลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศภาวะเงินฝืดจึงมีผลกระทบต่อประชาชนแต่ละอาชีพ ดังนี้

  • ลูกจ้าง,พนักงานบริษัท
  • พ่อค้าและนักธุรกิจ
  • เกษตรกร
  • ผู้มีรายได้ประจำ
  • ลูกหนี้และเจ้าหนี้
  • รัฐบาล

เงินฝืดทำให้คนในภาพรวมมี “รายได้” ลดลง เนื่องจากราคาสินค้าทุกอย่างลดลง แต่ “หนี้” ที่มียังก้อนเท่าเดิม เพราะหนี้ไม่ได้ปรับลดตามเงินเฟ้อหรือเงินฝืด

ยกตัวอย่างให้ชัดกว่านี้ เช่น ถ้าคุณไปกู้เงินซื้อบ้านหรือซื้อรถก่อนโควิด-19 คุณก็ยังเป็นหนี้ก้อนเท่าเดิม (พักชำระหนี้หรือไม่ ไม่มีผล) แต่ถ้าบริษัทคุณได้รับผลกระทบ คุณโดนลดเงินเดือน 30% แต่หนี้ที่คุณต้องชำระหนี้เท่าเดิม

ถ้ารายได้คุณสูงพอ คุณก็อาจยังจ่ายไหว แต่ถ้าคุณดันกู้แบบเต็มแม็กซ์ โดนลดเงินเดือนแบบนี้ คุณก็อาจจะจ่ายไม่ไหว ในที่สุดหนี้ที่คุณก่อก็จะกลายเป็น “หนี้เน่า” สุดท้าย ธนาคารก็จะต้องยึดบ้านยึดรถคุณ

นี่คือ “ภัยของเงินฝืด” จากมุมคนทั่วไป

แก้ไขภาวะเงินฝืด ได้อย่างไร

เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดสามารถแก้ไขได้ โดย รัฐบาลจะต้องออกมาตรการหรือนโยบายการเงินการคลังต่าง  เพราะนโยบายทั้งสองนี้ นอกจากจะมีมาตรการในการลดการใช้จ่ายมวลรวมแล้ว (ในกรณีแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ) ก็ยังมีมาตรการในการช่วยให้การใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถจัดอุปทานส่วนเกินให้หมดไปได้ภาวะเงินฝืดก็จะสินสุดลง มาตรการที่แก้ไขภาวะเงินฝืด